top of page

ตัวอย่างการสอนใน Confined Water

ดูตัวอย่างการ Demonstrate Skill ต่างๆ ได้ที่นี่

  • YouTube Social  Icon

การเตรียมสอน ทักษะในแหล่งน้ำปิด หรือ confined water

  • สิ่งสำคัญต้องรู้ก่อนว่า Performance Requirement หรือ Objective ของทักษะนั้นๆ คืออะไร (พูดง่ายๆ แปลว่านักเรียนต้องทำอะไรได้ จึงจะผ่าน)

  • เช่น Regulator Recovery มี Objective คือ Recover a Regulator from behind the shoulder หรือ ต้องหาเร็กกูเลเตอร์ จากหลังไหล่ นั่นหมายความว่าเวลาที่นักเรียน โยนเร็กกูเลเตอร์ ออกไป ต้องโยนไปหลังไหล่

  • บางทักษะ Objective ใน Confined Water กับใน Open Water ต่างกัน เช่น Regulator Recovery ในทะเล Objective คือ Recover a Regulator at Depth หมายความว่าในทะเล นักเรียนไม่จำเป็นต้องโยนไปหลังไหล่ แต่ถ้านักเรียนเคยชินแล้ว กับการฝึกในสระจะโยนไปหลังไหล่ ก็ไม่ผิดอะไร

การ Brief สิ่งที่ต้องบอกนักเรียนคือ

  • วัตถุประสงค์ (หรือ performance requirement)

  • value (ประโยชน์ หรือ เรียนทักษะนี้ไปทำไม เค้าจะได้ใช้ตอนไหน)

  • description (ขั้นตอนในการทำ)

  • signal (สัญญาณมือของทักษะนั้นๆ และสัญญาณมือที่นักเรียนต้องรู้ พวก ok, ไม่ ok, ขี้น, ลง ไม่ต้องแล้วก็ได้ เพราะเค้าต้องเรียนตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว และเราไม่จำเป็นต้องทวนสัญญาณเหล่านี้ทุกครั้งที่เราสอนทักษะใหม่)

  • organization (หรือการจัดการห้องเรียนของเรา) เช่น เราบอกนักเรียนว่า เดี๋ยวลงไปใต้น้ำ นักเรียนจะนั่งตรงไหน ครูทำให้ดูก่อน แล้วเราจะเข้าไปหานักเรียนทีละคน หรือ เรียกเค้าออกมาทำทักษะ และ ผู้ช่วย มีหน้าที่ทำอะไร)

การ Demonstrate

  • คือการทำ ทักษะนั้นให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง จึงควรที่จะทำช้าๆ เน้นจุดที่สำคัญ และให้ดูว่าทักษะนี้ ทำได้ง่ายๆ

  • ห้ามลืม demonstrate หรือ ทำให้นักเรียนดู โดยเด็ดขาด เพราะนักเรียนยังไม่เคยดำน้ำมาก่อนเลย เราไม่สามารถบอกขั้นตอนการทำทักษะ (ที่บอกตอน briefing) แล้ว ปล่อยให้นักเรียนทำเองเลย

การจับปัญหา

  • ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การจับปัญหา ไม่ใช่การจับผิดนักเรียน แต่เป็นการช่วยให้นักเรียนทำได้ตาม performance requirement ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้านักเรียนใช้การหายใจออกทางปาก เพื่อเคลียร์น้ำออกจากหน้ากาก นักเรียนจะไม่สามารถเคลียร์หน้ากากได้ ถ้าเราไม่สามารถจับได้ว่า ปัญหาของนักเรียนคืออะไร เราก็ไม่สามารถสอนเค้าให้ทำได้ตาม performance requirement

  • การจับปัญหาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น (prevention) หรือ จับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่บางครั้ง ถ้าเราไม่สามารถจับปัญหาได้ทันเราควรจะคิดให้ดีก่อนว่าจะทำอย่างไร เช่น ทักษะในการถอดใส่หน้ากาก นักเรียนถอดหน้ากากเลย โดยที่ไม่เติมน้ำให้เต็มหน้ากากก่อน ในกรณีนี้ เราไม่ควรแทรกนักเรียนในระหว่างที่เค้าทำทักษะนี้ เพราะเค้าอาจจะตกใจ หรือ ไม่เข้าใจว่าเราต้องการให้เค้าทำอะไร เนื่องจากเมื่อถอดหน้ากากออกมา คนมักหลับตา หรือ แม้กระทั้งลืมตาก็มองเห็นได้ไม่ชัดในน้ำ

  • และเมื่อนักเรียนทำได้แล้ว อย่าลืมแสดงความยินดีกับนักเรียน และ เตือนเค้าในตอนท้ายอีกครั้งหนึ่ง ในสิ่งที่เค้าทำพลาดไป
     

การ Control และ Delivery

  • คือการควบคุม และการจัดการ ชั้นเรียนของเรา เช่น

  • เราต้องให้ผู้ช่วย (Certified Assistant เรียกติดปากว่า DM) ช่วยดูแลนักเรียน โดยเฉพาะในขณะที่เรากำลังโฟกัสกับนักเรียนบางคนอยู่ เช่น ให้เค้าทำทักษะ หรือว่ายน้ำไปกับเค้า ผู้ช่วยจะต้องดูแลนักเรียนคนที่เหลือ

  • เมื่อเราให้นักเรียนทำทักษะเสร็จแล้ว ในตอนท้าย เราต้องแสดงความยินดี หรือ ชมเชยเค้า จะปรบมือ จับมือ แปะมือ หรือ อะไรก็ได้ตามวัฒนธรรมการแสดงความยินดีของแต่ละที่ และ ต้องเตือนความจำเค้าอีกครั้งหนึ่งในสิ่งที่เค้าทำผิด หรือ ลืมไปในขณะที่ทำทักษะนั้น การเตือนในตอนท้ายเพื่อเค้าจะได้จำได้ และระมัดระวังในอนาคต ไม่ใช่เพื่อย้ำความผิดนะจ๊ะ

  • จะแสดงความยินดีก่อน หรือ จะเตือนความจำก่อนก็ได้
     

การ Debrief

  • เป็นการสรุปปิดท้ายของการทำงทักษะนั้นๆ สิ่งที่ต้องพูดถึงคือ

  • ชมนักเรียน ถ้าเป็นไปได้ควรจะชมเจาะจงว่า นักเรียนทำอะไรได้ดี เช่น ทักษะถอดใส่หน้ากาก นักเรียนจับหน้ากากไว้ตอนที่ถอดออกมา, ไม่ใส่หน้ากากกลับหัว (เลือกชมซัก  1 สิ่ง)

  • พูดถึงปัญหา ที่นักเรียนทำ และทางแก้ไข เช่น ปัญหาคือ นักเรียนไม่กดหน้ากากตอนเคลียร์ วิธีแก้ปัญหาก็คือ กดหน้ากากสิจ๊ะ จะได้เคลียร์น้ำออกจากหน้ากากได้ง่ายขึ้น

  • พูดถึง Objective อีกครั้งนึง ว่า นักเรียนได้ทำตามตามวัตุประสงค์ หรือ Performance Requirement เรียบร้อยแล้ว

  • บอกประโยชน์ของ Skill นั้น อีกครั้ง เพื่อนให้นักเรียนรู้ว่า ที่ทำไปเมื่อกี๊ เค้าจะได้ใช้ตอนไหนกันนะ (แต่สำหรับ บางทักษะ เช่น แชร์ อากาศ หรือ CESA บอกนักเรียนด้วยก็ดีว่า เรียนไว้เผื่อฉุกเฉินเท่านั้นนะ เช่น อุปกรณ์เสีย หรือ เหตุสุดวิสัยอื่นๆ  ไม่ได้ให้ใช้บ่อยๆ เรา ควรจะเช็คอากาศเรื่อยๆ และไม่ควรดำน้ำจดอากาศหมด)


 

การเรียน Instructor ไม่ยากอย่างที่คิด สนใจเรียน หรือ สอบถามเพิ่มเติม

  • โทรสอบถามได้ที่ ครูพี่ปุ๊ย 081-825-9607

  • line: pui_diveinfo

bottom of page