top of page

การดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน ... มีความเสี่ยงหรือไม่ ?


ปัญหาสำคัญของสาวๆนักดำน้ำทั้งหลาย คือ มีประจำเดือนในช่วงที่ไปดำน้ำพอดี ปัญหาคือ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร และ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง 1) การกินยาฮอร์โมนเลื่อนประจำเดือน สามารถทำได้ แต่ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำเรื่องตัวยา และ การทานในระยะเวลาและ ขนาดที่เหมาะสม ... ทั้งนี้ ควรเป็นยาชนิดที่ฮอร์โมนต่ำและมีผลข้างเคียงเช่น อาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ที่น้อยที่สุด เพื่อจะได้ไม่รบกวน การดำน้ำ 2) หากมีประจำเดือนในช่วงที่ไปดำน้ำจริงๆ หากมีอาการ ปวดท้องน้อย ปวดศีรษะ หรือ ปวดหลัง ที่รุนแรงมาก ... อาจงดการดำน้ำไปก่อนจนกว่า อาการดังกล่าว จะได้รับการควบคุมจนไม่เป็นอุปสรรค์ ต่อการดำน้ำ เพราะอาการดังกล่าว เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการดำน้ำ และ ยังอาจทำให้เกิดการสับสน หากเกิดโรคจากการดำน้ำเช่น Decompression sickness หรือ Cerebral areterial Gas embolism เพราไม่สามารถแยกได้ว่า อาการผิดปกติ อาการปวดต่างๆ มาจากสาเหตุใดแน่ 3) ระหว่างมีประจำเดือน ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน จะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายมีลักษณะคล้ายบวมน้ำ อาจทำให้ มีการบวมของเยื่อบุผิวต่างๆ โดยเฉพาะ ท่อยูสเตเชี่ยน ดังนั้น จึงอาจทำให้การปรับความดันในหูชั้นกลางในขณะดำลง และ ดำขึ้น อาจจะยากลำบากขึ้น 4) เลือดที่ออกจากการมีประจำเดือนนั้น ต่างจากเลือดออกจากร่างกายเวลาที่มีบาดแผล เพราะมีลักษณะ เป็น Hemolysis blood ซึ่งพบว่า ไม่น่าจะดึงดูดความสนใจของฉลาม ให้เข้ามาทำร้ายนักดำน้ำในกรณีนี้ และ ในความเป็นจริง การถูกฉลามจู่โจมนั้นก็มีอัตราการเกิดที่ต่ำมากอยู่แล้ว ( ในไทย มีรายงานล่าสุดแค่ 1 ครั้งและก็เป็นครั้งเดียวด้วยที่จู่โจมจนถึงแก่ชีวิตเมื่อปี คศ. 2000 ) และก็ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างการมีประจำเดือนกับการถูกฉลามทำร้าย . ดังนั้น การดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน จึง ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฉลามกัดแต่ประการใด 5) ในทางการบิน นั้นมีการศึกษาและวิจัยจนพบว่าการทำการบินระหว่างที่มีประจำเดือนนั้น ทำให้เกิดโรค Decompression sickness ( DCS )มากขึ้นกว่าปกติ อย่างมีนัยสำคัญ " แต่ " ในการดำน้ำนั้น ยังไม่มีการทดลองและการวิจัยใดๆ ที่กระทำในเงื่อนไขของการดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลใดๆที่สามารถจะกล่าวได้ว่า การดำน้ำระหว่างมีประจำเดือนนั้น จะมีความเสี่ยงต่อ การเกิด Decompression sickness ที่สูงขึ้น แต่ หากจะเทียบเคียงกับข้อมูลที่ใด้จากการเกิดโรคในทางการบิน ... จึงมีข้อแนะนำว่า นักดำน้ำที่ดำน้ำระหว่างมีประจำเดือน อาจจะดำน้ำในลักษณะที่ " More conservative " เช่น ดำด้วยความลึกที่ไม่มาก , เวลาที่ใช้ดำแต่ละครั้งนั้นสั้นกว่าปกติที่เคยดำ , จำนวนครั้งที่จะดำ ต่อวัน ต่อทริป อาจจะลดลงกว่าปกติ ซึ่ง หากปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ลงได้ครับ 6) หากมีการใช้ยาระงับอาการปวด กลุ่ม NSAID (Non-steroidal anti-inflammatory drugs ) เพื่อระงับอาการปวดท้องจากการมีประจำเดือน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนานๆ อาจมีความเสี่ยงเรื่องการแข็งตัวของเลือดที่ช้ากว่าปกติ ในกรณีที่หากนักดำน้ำท่านนั้น มีการบาดเจ็บจากแรงดันในหูชั้นกลาง อาจทำให้ อาการนั้นรุนแรงกว่าปกติ และอาจมีเลือดออกในหูชั้นกลางได้ นอกจากนี้ หากเกิดโรค DCS ขึ้น ฤทธิ์แก้ปวดของยา อาจจะบดบังอาการปวดที่เกิดจาก DCS จนทำให้การวินิจฉัยนั้น ล่าช่้า และนำไปสู่การรักษาที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็นครับ


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page