top of page

ทำไมการดำลงสู่ใต้น้ำ ในท่า Head-first จึงปรับหูได้ยากกว่า Feet-first ???


อธิบายได้ด้วย ตำแหน่งทาง กายวิภาค ของช่องหูชั้นกลาง ( middle ear) กับท่อยูสเตเชี่ยน ( Eustachian tube ) ครับ ในท่านั้งหรือยืนปกติ หูชั้นกลางจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าช่องเปิดของท่อยูสเตเชี่ยน ที่มีปลายเปิดอยู่ในลำคอ ( ท่อยูสเตเชี่ยน มีปลายเปิดสองด้าน ปลายด้านหนึ่งอยู่ที่ในลำคอ ส่วนอีกปลายอยู่ในช่องหูชั้นกลาง , ดูภาพประกอบ )

เมื่อมีการดำลงสู่ใต้น้ำ ในท่าศีรษะตั้งตรง และ เอาปลายเท้าลงนำก่อน ( feet-first ) เมื่อเราปรับความดันในช่องหู ด้วย valsava technic ( หรือจะด้วยวิธีอื่นเช่น Toynbee maneuver ) แรงดันจะวิ่งจากปลายเปิดในลำคอ ไปยังปลายเปิดในหูชั้นกลาง ( ลำคออยู่ในตำแหน่งที่มีความลึกของน้ำ มากกว่าหูชั้นกลางที่อยู่ในตำแหน่ง ตื้นกว่า ) การปรับความดันในช่องหูชั้นกลาง จึงเป็นไปได้โดยง่าย

แต่เมื่อมีการดำลงโดยใช้ ศีรษะเป็นส่วนนำ (head-first) ตำแหน่งของหูชั้นกลางจะลงไปอยู่ในระดับที่มีความลึกมากกว่า ปลายเปิดของท่อยูสเตเชี่ยนในลำคอ เมื่อมีการปรับความดัน แรงดันยังคงต้องมีทิศทางการวิ่งเช่นเดิม คือจากในลำคอไปสู่ในช่องหูส่วนกลาง แต่ ในท่าการดำแบบนี้ ความดันบรรยากาศในหูชั้นกลางจะสูงกว่าความดันบรรยากาศทางด้านในลำคอมาก (เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งที่มีระดับความลึกของน้ำมากกว่า) ดังนั้น หากต้องการจะปรับความดันนักดำจึงต้องเพิ่มแรงในการเป่าลมมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อที่จะเพิ่มแรงดันในลำคอที่มีความดันบรรยากาศน้อย ไปสู่ในช่องหูที่มีแรงดันและแรงต้านมากกว่า ทำให้การปรับความดันในหูในท่าการดำแบบนี้ ทำได้ยากกว่า หรือทำไม่สำเร็จ และจะนำไปสู่การบาดเจ็บ จากแรงดันได้


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page