top of page

วิธีกำจัดอาการปวดเอว (หรือปวดหลังส่วนล่าง)

การดำน้ำแบบสคูบา เป็นกิจกรรมที่มีการยกของหนักมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกแทงค์ ซึ่งการยกของหนักเหล่านี้ มักจะเป็นต้นเหตุของการปวดหลัง การปวดหลังนี้ ถือเป็นการเจ็บป่วยแบบซ่อนเร้นหรือแอบแฝง เพราะสิ่งที่คุณทำลงไปเมื่ออายุ 20 กว่า ๆ นั้น อาจมาแสดงอาการปวดเอาเมื่อคุณอายุ 40 กว่าก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจพูดได้เลยว่า dive master หนุ่ม ๆ (หรือแม้แต่สาว ๆ) ที่เหวี่ยงแทงค์ขึ้นลง สบัดไปสบัดมา นั้น มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นคนแก่ที่ง่อยเปลี้ยในอนาคต แต่จริง ๆ แล้ว นักดำน้ำมีวิธีป้องกันหรืออย่างน้อยก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิดอาการปวดหลังในอนาคตได้ ดังนี้ กอดไว้ แทงค์มีที่จับหรือที่ถือเพียงจุดเดียว ดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการบังคับไปในตัวให้เราหิ้วแทงค์มือเดียว การที่น้ำหนักลงด้านใดด้านหนึ่งของลำตัว ทำให้เกิดการไม่สมดุลย์และเป็นต้นเหตุของการปวดหลัง วิธีการหิ้วหรือถือแทงค์ที่ถูกต้องคือ กอดไว้ที่ด้านหน้าด้วยมือทั้งสอง เหมือนกับว่าคุณกำลังหอบกองไม้หรือใครสักคน ใส่ไว้ ในกรณีที่ต้องหิ้วหรือถือแทงค์เป็นระยะทาง เช่นเดินไปที่เรือ วิธีที่ถูกต้องคือประกอบแทงค์กับ BC แล้วใส่ BC นั้นเดินไปยังจุดที่ต้องการ วิธีการนี้ยังใช้ได้กับกับ weight อีกด้วย คือคาดเข็มขัดไว้กับตัว แทนที่จะถือเดินไป ช่วยกันหน่อย นักดำน้ำหลายคนใส่ BC เหมือนเวลาใส่เสื้อ คือสอดแขนเข้าไปข้างหนึ่ง แล้วยก BC โดยใช้ไหล่ เพื่อสอดแขนเข้าอีกข้างหนึ่ง วิธีที่ถูกต้อง คือของให้ buddy (หรือ staff เรือ) ช่วยจับ BC ไว้ (อย่าลืมว่าแทงค์ต้องตั้งอยู่บนม้าหรือที่วาง) สอดแขนเข้าไปทั้ง 2 ข้าง ขยับ BC ให้เข้าที่ แล้วจึงปรับ buckle ให้เข้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้น้ำหนัก BC และแทงค์อยู่บนบ่าทั้ง 2 ข้าง ก่อนที่จะกระทำการใด ๆ ที่เป็นรับน้ำหนักของ BC และแทงค์ ใช้ขาหน่อย เมื่อจำเป็นต้องก้มตัว ใช้วิธีย่อเข่า อย่าก้มจากเอวลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องก้มลงไปหยิบหรือยกสิ่งของที่มีน้ำหนัก เอาไว้ใกล้ๆ ตัว การยกหรือถือของหนัก ๆ ไว้ห่างตัว จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักและทำให้ปวดหลังได้ง่ายขึ้น วิธีที่ถูกต้องคือ ถือหรือยกของมีน้ำหนักให้ใกล้ตัวที่สุดที่จะเป็นไปได้ หมุนเท้า เมื่อมีการส่งของที่มีน้ำหนัก เช่นอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อให้กัน ควรหมุนทั้งลำตัวเข้าหาอีกคนหนึ่ง โดยการหมุนตัวจากเท้าขึ้นมา อย่าหมุนหรือหันด้วยเอว ออกกำลัง การออกกำลังกายแบบยืดตัว (stretch) เป็นการป้องกันการปวดหลังที่ดีที่สุด อย่าลืมสุภาษิตที่ว่า “กันดีกว่าแก้” ไม่ไหวแล้ว เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องยกหรือโยกย้ายสิ่งของ ด้วยการกระชากหรือการเหวี่ยง แสดงว่าของนั้นหนักเกินกำลัง ถึงเวลาที่จะต้องบอกว่า “ไม่ไหวแล้ว ช่วยกันหน่อย” ปีนช้า ๆ จุดที่เสี่ยงหรือมีโอกาสทำให้นักดำน้ำปวดหลังได้มากที่สุดคือขณะที่กำลังไต่กระไดเรือขึ้นจากน้ำ ช่วงเวลานี้นักดำน้ำจะอยู่ในสภาพที่น้ำหนักอยู่ที่ส่วนบนของร่างกาย อีกทั้งการยืนหรือการตั้งตัวไม่มั่นคง เพราะยืนบนขั้นบันไดเล็ก ๆ และบันได (เรือ) นั้นก็ยังโคลงเคลงอีกด้วย มีหลายครั้งที่นักดำน้ำจำต้องเอี้ยวตัวหลบคลื่นหรือการโคลง เพื่อไม่ให้ร่วงลงน้ำอีกครั้งหนึ่ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเสริมให้มีโอกาสปวดหลังได้ทั้งสิ้น วิธีขึ้นเรือที่ถูกคือขึ้นช้า ๆ ใช้แขนทั้ง 2 ข้างรับน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยพยายามยึดอะไรอย่างหนึ่ง ที่อยู่เหนือหัว เช่นบันไดขั้นต่อไปหรือเสาบันไดบน platform เวลายึดให้วางมือทั้ง 2 ห่างกัน เพื่อช่วยการถ่ายทอดน้ำหนักได้ดีขึ้น เมื่อยึดได้มั่นคงแล้ว จึงค่อยขึ้นบันไดที่ละขั้น


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page