top of page

ประวัติการดำน้ำ


จากหนังสือ “ก่อนเรียนดำน้ำ” ของ คุณวันชัย แจ้งอัมพร

จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การดน้ำเกิดขึ้นหลายร้อยปีมาแล้ว โดยการหาเลี้ยงชีพของชาวบ้านทั่วไป เช่น จากการหาปลาเป็นอาหารประเภทสัตว์น้ำ, การงมหอยมุก, เก็บฟองน้ำ หรือสาหร่าย เป็นต้น วิธีของการดำน้ำคงแตกต่างกันไป ตามสภาพของแต่ละท้องถิ่น เช่น บางท้องถิ่นใช้ก้อนหิน เป็นตัวถ่วงน้ำหนักให้กับร่างกายจมลงใต้น้ำ นักดำน้ำที่ประกอบอาชีพเหล่านั้น สามารถดำน้ำได้ลึกกว่า 30 เมตร และ อยู่ได้นานกว่า 2 นาที ต่อมาการดำน้ำถูกนำไปใช้งานทางด้านการทหาร ในการลอบโจมตีข้าศึก เช่น การดำน้ำไปตัดสายสมอเรือ หรือการเจาะท้องเรือ เป็นต้น นักดำน้ำมีส่วนช่วยในการ ทำสงครามมาตั้งแต่ก่อนเริ่มคริสตศักราช เสียอีก การดำน้ำได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากการใช้วิธีกลั้นหายใจแล้วดำลงไปในน้ำ (Breath Hold Diving) มาอาศัยอุปกรณ์ประเภทท่อ หรือ หลอดซึ่งปลายส่วนหนึ่งอยู่เหนือผิวน้ำ นักดำน้ำสามารถหายใจเอาอากาศเหนือผิวน้ำลงไป แต่เป็นเพายงการดำน้ำระดับตื้น การดำน้ำแบบนี้ มีบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาวโรมัน เมื่อยุคต้นๆ ของคริสตศักราช ลีโอนาโด ดาวินชี ก็เคยร่วงแบบอุปกรณ์ดำน้ำหลายรูปแบบด้วยกัน รวมทั้งแบบของเรือดำน้ำด้วย และส่วนหนึ่งของร่างแบบอุปกรณ์ดำน้ำก็คือ รูปแบบของหมวกครอบศีรษะ เพื่อให้นักดำน้ำใช้หายใจใต้น้ำได้ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนาหมวกครอบศีรษะเพื่อใช้กับการดำน้ำเรื่อยมา และใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการดำน้ำอาชีพทั่วไป แม้แต่ในปัจจุบันนี้ การดำน้ำลึกมากพิเศษ (มากกว่า 100 เมตรลงไป) ก็ยังใช้หมวกครอบศีรษะอยู่เช่นกัน เพียงแต่มีการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการผสมอากาศ ให้สามารถนำไปใช้งานในระดับน้ำลึกมากๆ ได้ การดำน้ำด้วยวิธีนี้ เรียกว่า การส่งอากาศจากผิวน้ำลงไปใต้น้ำ หรือ Surface Air Supply ปี พ.ศ. 2409 ได้มีผู้ผลิตอุปกรณ์ช่วยในการหายใจใต้น้ำ ที่เรียกว่า Demand Regulator ซึ่งเป็นต้นแบบของชุด เรกกูเลเตอร์ ในทุกวันนี้ แต่ในยุคนั้นยังมีขีดจำกัดในด้านเครื่องอัดอากาศ และถังบรรจุอากาศอยู่มาก จึงยังต้องพึ่งพาสายส่งอากาศจากผิวน้ำลงไป เช่นเดิม

ปี พ.ศ. 2421 มีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ นำเอาอากาศลงไปใช้หายใจที่ใต้น้ำได้ ซึ่งเรียกว่า Self Contained Air Supply ในลักษณะของ วงจรปิด หรือ closed circuit ระบบนี้เขาใช้ ก๊าซออกซิเจน บรรจุลงในถังขนาดเล็ก ก๊าซออกซิเจนที่ใช้หายใจไปแล้วจะถูกส่งผ่านสารเคมี เพื่อขจัด หรือซึมซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปนออกมากับก๊าซออกซิเจนเอาไว้ จากนั้น ส่งก๊าซออกซิเจน กลับไปเพื่อ หายใจใหม่ วนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป การดำน้ำแบบนี้ในยุคนั้น ไม่สามารถใช้ดำน้ำในระดับลึกได้ เพราะออกซิเจนจะเกิดเป็นพิษ ที่ความลึกระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันนี้ ระบบวงจรปิด หรือ Closed Circuit ได้พัฒนารูปแบบ และการผสม ก๊าซออกซิเจน กับก๊าซไนโตรเจนแทนการใช้ออกซิเจน เพียงอย่างเดียว จึงทำให้ใช้ดำน้ำได้ในระดับความลึกได้เพิ่มขึ้น และเรียกชุดอุปกรณ์นีร้ว่า Semi-Closed Circuit Rebreathing System คงพอเห็นแล้วว่า ตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์การดำน้ำเป็นต้นมา จะมุ่งพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำอย่างต่อเนื่องเพียงด้านเดียว จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2440 ดร.เจ เอส ฮาลเดน (Dr J S Haldane) ได้ค้นพบเสเหตุ ของอันตรายที่เกิดขึ้นจากการดำน้ำลึก และใช้เวลาอยู่ใต้น้ำนาน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยกับนักดำน้ำ โดยพบมากกับคนงานที่ต้องลงไปทำงาน ในห้องกักอากาศ หรือ เคซอง (Caisson) ที่อยู่ใต้น้ำ ของการสร้างฐานรากสะพาน อาการเจ็บป่วยดังกล่าวจึงเรียกว่า โรคเคซอง (Caisson) หรือ อีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันมากก็คือ โรคเบนส์ (Bends) การค้นพบครั้งนั้นเป็นที่มาของ ตารางดำน้ำ (Dive Table) เพื่อใช้ควบคุมการดำน้ำให้เหมาะสม ที่จะไม่ทำให้เกิดอันตรายจากการดำน้ำ

ปี พ.ศ. 2486 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Jacgues Yues Cousteau และ Emilee Gagnan จึงได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์อุปกรณ์ดำน้ำ ในรูปแบบของ การน้ำอากาศธรรมดาบรรจุถังลงไป ใช้งานใต้น้ำ หรือ Self Contained Air Supply เช่นกัน แต่เป็น ระบบเปิด หรือ Open System ซึ่งนิยมเรียกว่า Scuba System (Scuba = Self Contained Underwater Breathing Appratus) ระบบนี้เมือ่อากาศที่ใช้หายใจแล้ว ก็จะถูกปล่อยทิ้งออกไปเลย ปัจจุบันคำว่า Scuba จึงหมายถึงการดำน้ำด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว โดยปริยาย จะอย่างไรก็ตาม ระดับความลึกมากกว่า 100 เมตร ลงไปนั้น อุปกรณ์ดำน้ำแบบ scuba ไม่สามารถ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีขีดความจำกัดในขนาดของถังบรรจุอากาศ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ บางส่วน ดังนั้นการทำงานของนักดำน้ำ (อาชีพ และ ทหาร) ในระดับลึกมากเป็นพิเศษ จึงยังต้องอาศัยอุปกรณ์ดำน้ำ แบบส่งอากาศจากผิวน้ำลงไปใช้ที่ใต้น้ำเช่นเดิม แต่ได้พัฒนอุปกรณ์และวิธีการต่างๆ จนทำให้นักดำน้ำสามารถลงไปทำงานที่ใต้น้ำ ในระดับความลึกหลายร้อยเมตรได้อย่างปลอดภัย


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page