top of page

มาทำความรู้จักกับ PFO ( Patent Foramen Ovale )


มาทำความรู้จักกับ PFO ( patent foramen ovale ) ความผิดปกติของผนังหัวใจแต่กำเนิดชนิดนี้ มีข้อห้ามหรือเสี่ยงในการดำน้ำ อย่างไร PFO เป็นความผิดปกติของหัวใจ ที่พบได้ในประชากรทั่วไปประมาณ 10-20% .... สืบเนื่องมาจาก ในขณะที่เราเป็นตัวอ่อนอยู่ในท้องมารดานั้น ปอดของเรายังไม่ทำงานจนกว่าเราจะคลอดออกมา ... ดังนั้น ผนังห้องหัวใจด้านบา คือ ห้องบนขวาและห้องบนซ้าย จึงมีรูเปิดทะลุถึงกันตามธรรมชาติ โดยช่องเปิดนี้จะมีลักษณะเป็นลิ้นที่เหลื่อมกัน และเลือดจะไหลไปในทิศทางขวาไปซ้ายได้ทางเดียว เพื่อให้เลือดดำที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องขวาบน สามารถผ่านไปยังห้องซ้ายบน ลงไปห้องซ้ายล่างและสูบฉีดเลือดออกจากห้วใจไปยังส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป ( ในผู้ใหญ่ เมื่อเลือดกลับมายังห้องขวาบน เลือดจะไหลต่อไปห้องขวาล่าง จากนั้นจะวิ่งไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดก่อน แล้วเลือดที่มีออกซิเจนสูงจะไหลกลับจากปอดมาที่หัวใจห้องซ้ายบนก่อนจะไปซ้ายล่างและสูบฉีดออกไปเลี้ยงร่่างกาย ) .... เมื่อคลอดออกมา และปอดเริ่มทำงาน แรงดันเลือดในหัวใจห้องซ้ายจะสูงกว่าด้านขวา และจะดันให้ลิ้นที่เป็นผนังของรูเปิดที่เคยมีตอนเป็นตัวอ่อน นั้นปิดลง ...และจะปิดสนิทในเวลาต่อมา ...... แต่ ก็มีจำนวนนึงที่ รูเปิดนี้ ปิดไม่สนิท และหลงเหลือรเปิดนี้อยู่จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ PFO มีผลอย่างไร ต่อร่างกายและต่อการดำน้ำ โดยทั่วไป คนที่มี PFO จะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใดๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ออกกำลังได้ตามปกติ ... และอาจจะไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่าตัวเองมี PFO ไปตลอดอายุไข ...... ดังนั้น ส่วนใหญ่ PFO ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อชีวิตประจำวันครับ ....แต่ ..สำหรับนักดำน้ำ ... การที่มี PFO ทำให้มี "ความเสี่ยง" ที่จะมีฟองไนโตรเจนหลุดข้ามจากหัวใจห้องขวาไปห้องซ้ายและหลุดออกไปอุดตันหลอดเลือดของอวัยวะที่สำคัญเช่น สมอง ได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไปครับ ในนักดำน้ำปกติทั่วไป ... ทุกคนที่ดำน้ำจะมี Silence bubble เกิดขึ้นเสอมในร่างกาย และ ฟองไนโตรเจนเหล่านี้ จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจที่ห้องซ้ายบนไปห้องซ้ายล่างจากนั้นจะถูกส่งไปยังปอดและปอด จะทำหน้าที่กักฟองไนโตรเจนไว้และค่อยๆปลดปล่อยไนโตรเจนออกจากร่างกายผ่านการหายใจ ....... ในนักดำน้ำที่มี PFO ... ฟองในโตรเจนอาจเล็ดลอดผ่านทางรูเปิดระหว่างผนังหัวใจที่ว่า ผ่านไปหัวใจฝั่งขวาและหลุดลอยไปอุดตันหลอดเลือดต่างๆได้ หากมีฟองก๊าซที่มากพอ และมีแรงดันในหัวใจฝั่งขวาที่สูงมากพอที่จะทำให้ ลิ้นของผนังที่ปิดไม่สนิทนี้เปิดออก ... ดังนั้นจึงถือเป็นความเสี่ยงอย่างนึงของผู้ที่มี PFO ในการศึกษาวิจัยของ Duke university ที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ... ในนักดำน้ำที่ป่วยเป็น DCI 91 ราย พบว่า มี 39 จาก 91 ราย มี PFO ....... .91 รายนี้ มีผู้ป่วยหนัก 64 ราย และ 32 ใน 64 รายนั้น มี PFO PFO จะทำให้เกิดโรคจากการดำน้ำ ( Decompression illness ) ทุกครั้งไปมั้ย ??? จากข้อมูลที่มีในตอนนี้ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดโรค กับ PFO แต่ ... จำนวนตัวอย่างของผู้ป่วยในการศึกษาวิจัยยังน้อยไปที่จะสรุปได้ ว่า PFO มีผลทำให้เกิด DCI ในนักดำอย่างแน่นอน ถึงกระนั้น เราก็ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการดำน้ำในคนกลุ่มนี้ให้มากกว่าคนปกติทั่วไป และ ควรมีการวางแผนการดำน้ำที่เหมาะสมและวางแผนการปฐมพยาบาลที่ทันท่วงทีหากคนกลุ่มนี้ มีความผิดปกติจากการดำน้ำ แล้วควรจะทำอย่างไรดี เกี่ยวกับ PFO ??? จนถึงขณะนี้ PFO ยังไม่ได้เป็นข้อห้ามถาวรสำหรับการดำน้ำ เว้นเสียแต่ว่า หากเกิดอาการซ้ำๆ บ่อยๆ และรุนแรง หากพบว่าตัวเองมี PFO และยังอยากดำน้ำ หรือ ต้องดำน้ำต่อ ...... ก็ควร ตั้งขีดจำกัดการดำน้ำให้ มากขึ้นกว่าคนทั่วไปเช่น ... ดำน้ำ ไม่เกิด 2 dive ต่อวัน ... ดำน้ำไม่ลึกเกินกว่า 20 เมตร ... ระยะเวลาการดำน้ำต่อ Dive ไม่เกิน 30 นาที ..... ทั้งนี้เพื่อลดการสะสมไนโตรเจนในร่างกาย และ ลดความเสี่ยงที่จะเกิด DCI ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ท้ายที่สุด หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วนักดำน้ำควรไปตรวจหา PFO ทุกรายมั้ย คำตอบคือ ไม่จำเป็นครับ ... ตราบใดที่ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ยังดำน้ำได้โดยไม่เคยมีการเจ็บป่วยจากการดำน้ำ ก้ไม่ต้องไปกังวล ตรวจพิเศษเพิ่มเติมอะไรครับ ดำน้ำให้สนุกให้ปลอดภัย .... ขอเพียงแค่ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยใดๆ ระหว่างหรือ หลังการดำน้ำ ขอให้ทำการ "หยุด" ดำน้ำและรีบส่งตัวมาพบแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ .... จะเป็นการปลอดภัยที่สุด สำหรับนักดำน้ำทุกๆท่านครับ


Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page